"ยอห์น 19:14 และ มาระโก 15:25 ขัดกันหรือไม่อย่างไร" ?


"ยอห์น 19:14 และ มาระโก 15:25 ขัดกันหรือไม่อย่างไร" ?

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

พระวจนะ 2 ตอนต่อไปนี้:
“ขณะที่พวกเขาตรึงพระองค์นั้นเป็นเวลาสามโมงเช้า (hōra tritē) (the third hour) (9 a.m. =9 โมงเช้า)” (มาระโก 15:25).......
“วันนั้นเป็นวันเตรียมปัสกา (paraskeuē tou pascha) เวลาประมาณเที่ยง (hōs hektē) (the sixth hour) ท่านพูดกับพวกยิวว่า “นี่คือกษัตริย์ของพวกท่าน”” (ยอห์น 19:14).......
คำอธิบาย:
มีการเสนอทางออกของสิ่งที่ดูจะขัดกัน พระเยซูทรงถูกตรึงเวลาประมาณไหนกันแน่ คำอธิบายมีมากหลายข้อเสนอ แต่ผมจะขอนำคำอธิบายของ Andreas J. Kostenberger (เขียนอธิบายพระธรรมยอห์น) และ R.H. Stein (เขียนอธิบายพระธรรมมาระโก) มาสรุปอ้าง โดยนำมาจากหนังสือ commentary ของท่านทั้ง 2 จาก series "Baker Exegetical Commentary of New Testament" ท่านทั้งสองเป็นผู้รู้พระธรรมกิจคุณที่มีชื่อเสียง เชื่อถือได้ และ ตีความแบบที่ผู้รู้ในแวดวงนี้ยอมรับ (ข้อ 1 ถึง 3 ข้างล่างต่อไปนี้)

1. การบอกเวลาในยุคนั้นใช้วิธีบอกแบบประมาณการ ไม่ได้บอกแบบเราทุกวันนี้แบบเปะๆ โดย R.H. Stein ได้ศึกษาการบอกเวลาที่บันทึกในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่พบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ว่า มีการกล่าวถึงการบอกเวลา 23 ครั้ง โดย 4 ครั้งพูดถึง The “third” hour (ชั่วโมงที่ 3), 7 ครั้งพูดถึง the “sixth” hour (ชั่วโมงที่ 6), และ 9 ครั้งพูดถึง the “ninth” hour (ชั่วโมงที่ 9), และมีอีก 3 ครั้งที่พูดถึงเวลาที่แตกต่างจากนี้ กล่าวคือ พูดถึง the “eleventh” hour (ชั่วโมงที่ 11), the “tenth” (ชั่วโมงที่ 10) และ the seventh (ชั่วโมงที่ 7)

2. เนื่องจากไม่เคยมีการกล่าวเจาะจงลงไประหว่าง The “third” hour (ชั่วโมงที่ 3) กับ the “sixth” hour (ชั่วโมงที่ 6) เลย เป็นไปได้ไหมว่า ช่วงเวลานี้เป็นการกล่าวที่สามารถใช้อันใดอันหนึ่งแทนเหตุการณ์ช่วงนั้นได้ คือ แล้วแต่ใครจะใช้ ก็ตามแต่เห็นควร แต่เป็นอะไรที่ตกในช่วง 3 ชั่วโมงนี้โดยประมาณ
อาจเป็นเพราะ ท่านมาระโกและท่านยอห์นต้องการเน้นคนละจุดประสงค์ โดยท่านยอห์นเน้นให้เห็นภาพของ "ช่วงเวลาที่ใช้ไปในระหว่างการตัดสินความ" ซึ่งเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่จึงเลือกกล่าว “ชั่วโมงที่หก” เพราะพวกที่จับพระเยซูนำพระองค์มาให้ปิลาตตัดสินตั้งแต่เช้าตรู่ (early morning) (ยอห์น 18:28) ปิลาตออกมาทำงานแต่เช้าตรู่ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไรของช่วงนั้นเดือนเมษายน
ส่วนท่านมาระโกต้องการเน้นว่า "มีอีก 3 ชั่วโมงที่ฟ้ามืดหลังเที่ยงถึงบ่ายสาม" จึงเลือกใช้ “ชั่วโมงที่สาม” [“เมื่อถึงเวลาเที่ยงก็เกิดมืดมัวทั่วแผ่นดินจนถึงบ่ายสามโมง” (มาระโก 15:33)]

3. เหตุการณ์ที่กำลังกล่าวถึงนั้นเป็นวันศุกร์ พระเยซูคริสต์ทรงเสวยปัสกาไปแล้วคืนผ่านมากับเหล่าสาวก วันศุกร์เป็นวันก่อนวันสะบาโต (วันเสาร์) ดังนั้นวลี “วันนั้นเป็นวันเตรียมปัสกา” (paraskeuē tou pascha) จึงไม่ได้หมายถึงวันก่อนจะกินปัสกา (เพราะพระเยซูกับสาวกของพระองค์กินปัสกาเย็นวันพฤหัสต่อวันศุกร์ไปแล้ว) แต่หมายถึง “of Passover week” (ของสัปดาห์ปัสกา) ซึ่งฉบับแปลอมตธรรมซึ่งแปลจาก NIV แปลตรงนี้ได้ถูกต้องกว่า โดยแปลดังนี้ว่า “วันนั้นเป็นวันเตรียมของสัปดาห์ปัสกา” ซึ่งเป็นการกล่าวถึง “โดยรวมของทั้งสัปดาห์ปัสกา” (รวมวันปัสกาและเทศการขนมปังไร้เชื้อที่เกี่ยวข้องกันด้วย) วันเตรียมของสัปดาห์ปัสกาจึงเป็นการอ้างถึงวันเตรียมสำหรับวันสะบาโตที่จะมาในวันเสาร์พรุ่งนี้

4. ยังมีความเห็นอื่นๆ เช่น จากหนังสือ Alleged Discrepancies of the Bible โดย John W. Haley พิมพ์เมื่อปี 1874 (141 ปีก่อน) ซึ่งค่อนข้างเก่า ก็มีผู้เสนอว่าสำเนาคัดลอกของพระธรรมยอห์นนั้นลอกมาผิด จากเลข 3 มาเป็นเลข 6 ที่อาจดูคล้ายๆกัน แต่เหตุผลนี้ตกไป ไม่มีหลักฐาน ไม่มีผู้รู้ปัจจุบันเชื่อถือ]
มีอีกความเห็นหนึ่งที่ตีความว่าตรงนี้ควรแปลแบบจับใจความว่า "Now preparations for the Passover (sacrifice) started at noon = เดี๋ยวนี้การเตรียมการสำหรับปัสกาจะเริ่มเวลาเที่ยง" เป็นการกล่าวอ้างถึงการเตรียมแกะที่จะถวายในพิธีปัสกา ที่จะเริ่มตอนเที่ยง เป็นการตีความวันเวลาที่แตกต่างออกไป

5. ดังนั้นก็คงสรุปว่า พระคริสต์ถูกตรึงตั้งแต่ช่วงหลัง 9 โมงเช้าถึงบ่ายสามโมงโดยประมาณ ท้องฟ้ามืดไปช่วงเที่ยงถึงบ่ายสาม พระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์ในราวบ่ายสามโมงของวันศุกร์ที่ 3 เมษายน ปี AD 33