ให้เกียรติศิษยาภิบาล

"ศิษยาภิบาล เราต้องนับถือท่าน ให้เกียรติท่าน เคารพท่าน ตามพระคัมภีร์สอน"

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

บทนำ..........

1. ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยผิดพลาดในเรื่องนี้เนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบพระวจนะอย่างดี เคยหลงไปกับคำสอนที่โจมตีตำแหน่งหน้าที่นี้ ในหลายๆประเด็น

2. แต่เมื่อพิจารณาจากพระวจนะ จะเห็นว่าไม่เป็นเช่นนั้น "ครอบครัวฝ่ายวิญญาณ" ก็ไม่ต่างกันกับ "ครอบครัวฝ่ายเนื้อหนังสายเลือด" คือ ต้องมีผู้นำ (สามี หรือ บิดาของลูกๆในครอบครัว) คริสตจักรทั้งหมดหรือสากล (universal churches) มีผู้เลี้ยงผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระเยซูคริสต์เจ้า และ สำหรับคริสตจักรท้องถิ่น (local churches) ก็มีผู้เลี้ยงหรือศิษยาภิบาลที่คอยดูแลปกครองคริสตจักรท้องถิ่นในโลกใบนี้ เป็นสิ่งที่พระคัมภีร์ใหม่สอนอย่างชัดเจน

ศิษยาภิบาลในคริสตจักรท้องถิ่น

"ในคริสตจักรท้องถิ่น มีศิษยาภิบาลคนเดี่ยวก็ได้ มีหลายคนก็ได้ และมีหัวหน้าของทีมศิษยาภิบาลด้วย เป็นไปตามพระคัมภีร์"

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

บทนำ.......

1. ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เกี่ยวกับการดูแลจัดการคริสตจักรท้องถิ่นในแต่ละแห่ง มีการกล่าวถึงการแต่งตั้งตำแหน่งอยู่ 2 อย่าง อันได้แก่ "ผู้ปกครองดูแล" (ผู้ปกครอง ศิษยาภิบาล ผู้เลี้ยง ครูผู้สอน นักเทศน์) และ "เหล่ามัคนายก"

การเลี้ยงดูผู้รับใช้พระเจ้าในฐานะครูผู้สอนพระวจนะ



"การเลี้ยงดูผู้รับใช้พระเจ้าในฐานะครูผู้สอนพระวจนะ"


เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

“ส่วนคนที่รับการสอนพระวจนะ จงแบ่งสิ่งดีทุกอย่างให้แก่คนที่สอนตนเถิด” (กาลาเทีย 6:6)

1. อธิบายคำศัพท์

.....วลี "คนที่รับการสอนพระวจนะ ho katēchoumenos" กับ วลี "คนที่สอน tōi katēchounti" มาจากศัพท์คำเดียวกัน ซึ่งการใช้ภาษาตรงนี้บ่งบอกว่ามีการแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ มี "คนที่สอน" และ  "คนที่รับการสอน" เป็นลักษณะเป็นแบบทางการ (formal) กล่าวคือ มี "ครู" กับ "นักเรียน"

คำเทศนาที่ให้ความหวังกับความมั่งคั่งทางทรัพย์สมบัติ (Prosperity Preaching)




คำเทศนาที่ให้ความหวังกับความมั่งคั่งทางทรัพย์สมบัติ (Prosperity Preaching)


เขียนโดย  Padunkiaet Vejvechaneyom



มีผู้รู้ท่านหนึ่ง (John Piper) ได้เสนอข้อพระคัมภีร์ที่เราสามารถใช้แก้ต่างเกี่ยวกับคำสอนเรื่อง "คำเทศนาที่ให้ความหวังกับความมั่งคั่งทางทรัพย์สมบัติ" (Prosperity Preaching) ไว้ 7 ประการ (ผมเรียบเรียงได้ดัดแปลงและปรับเปลี่ยนบางส่วน) ดังนี้:

บันทึกประวัติศาสตร์ของคริสเตียน


บันทึกประวัติศาสตร์ของคริสเตียน

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

การอ่านบันทึกประวัติศาสตร์ของคริสเตียน ทำให้ได้ข้อคิดเรื่องการนมัสการของคริสเตียนยุคแรกในวันอาทิตย์ (เป็นหลักฐานหนึ่งที่ช่วยเราได้) ว่าไม่ได้เกี่ยวกับพวกนอกรีต (pagan) แต่อย่างใด
ผมขอยกข้อเขียนของ Justin Martyr ที่ปรากฏในปี 140 คือ ประมาณ 40 ปีหลังอัครทูตยอห์นสิ้นชีวิต โดย Justin Martyr ผู้นี้เป็นชาวกรีก เกิดในปี 100 และถูกฆ่าตายเพราะความเชื่อในปี 165 ท่านผู้นี้อยู่คริสตจักรเดียวกับที่ท่านยอห์นเคยอยู่ คือคริสตจักรที่เมืองเอเฟซัส เป็นอะไรที่มาก่อนสภาไนเซียถึง 200 ปี
ท่านผู้นี้ได้เขียนหนังสือ (เป็นจดหมาย) ไว้ตอนหนึ่ง (The First Apology of Justin) ซึ่งเป็นตอนที่คริสเตียนถูกข่มเหงอย่างหนัก ท่านเขียนถึงจักรพรรดิ Antoninus เล่าความเป็นไปเกี่ยวกับคริสเตียน ดังนี้ว่า:
""And on the day called Sunday และในวันที่เรียกว่าวันอาทิตย์, all who live in cities or in the country ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆหรือในภูมิภาคท้องถิ่นหนึ่ง gather together to one place พากันมาชุมนุมอยู่ด้วยกันในสถานที่หนึ่ง, and the memoirs of the apostles or the writings of the prophets are read และบรรดาบันทึกของเหล่าอัครทูตหรือข้อเขียนของบรรดาผู้เผยพระวจนะก็ได้รับการอ่านให้ฟัง, as long as time permits เท่าที่เวลาจะเอื้ออำนวย; then, when the reader has ceased จากนั้นเมื่อการอ่านเสร็จสิ้นลง, the president verbally instructs and exhorts to the imitation of these good things ประธานที่เป็นหัวหน้าก็จะเอ่ยปากสอนและตักเตือนให้ผู้ฟังเลียนแบบทำตัวตามสิ่งดีๆที่สอนมานั้น. Then we all rise together and pray จากนั้นเราทุกคนก็จะลุกขึ้นพร้อมกันและอธิษฐาน, and, as we before said และเช่นเดียวกับที่เราได้กล่าวมาแล้ว, when our prayer is ended เมื่อการอธิษฐานของเราสิ้นสุดลง, bread and wine and water are brought ก็จะมีการนำขนมปัง และเหล้าองุ่น และน้ำ, and the president in like manner offers prayers and thanksgivings และผู้นำระดับหัวหน้าเช่นเดียวกันก็จะให้คำอธิษฐานและขอบพระคุณพระเจ้า, according to his ability ตามความสามารถของเขา, and the people assent, saying, Amen และผู้คนก็จะเห็นด้วยและกล่าวคำว่า เอเมน; and there is a distribution to each และจะมีการแจกจ่ายขนมปัง เหล้าองุ่นและน้ำให้แต่ละคน, and a participation of that over which thanks have been given และร่วมกันกินด้วยใจขอบพระคุณ, and to those who are absent a portion is sent by the deacons และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มาร่วมด้วย ก็จะมีการปันส่วนเอาไว้และมัคคนายกก็จะเป็นผู้ที่นำไปแจกจ่ายให้กับคนที่ไม่ได้มาร่วม. And they who are well to do, and willing, give what each thinks fit และผู้ใดที่มีอันจะกินคือมีเงินมีทองหรือมีพอจะให้ได้และเต็มใจจะให้ ก็ให้ตามแต่ที่คิดหมายไว้ในใจว่าเหมาะสม; and what is collected is deposited with the president และเงินหรือปัจจัยที่ให้ไว้นั้นก็จะเก็บไว้กับประธาน, who succors the orphans and widows ผู้ซึ่งจะนำไปช่วยเหลือลูกกำพร้าและแม่ม่ายทั้งหลาย, and those who และคนเหล่านั้น, through sickness or any other cause ที่เจ็บป่วยหรือด้วยมีเหตุอันใด, are in want ที่มีความจำเป็น, and those who are in bonds และผู้ที่ถูกจองจำพันธนาการ, and the strangers sojourning among us และคนพลัดถิ่นหรือคนต่างด้าวที่มาอยู่ระหว่างพวกเรา, and, in a word, takes care of all who are in need และจะสรุปสั้นๆ คือ ช่วยเหลือคนยากไร้และผู้ที่มีความจำเป็นทั้งมวล. But Sunday is the day on which we all hold our common assembly แต่วันอาทิตย์เป็นวันที่พวกเรามาร่วมชุมนุมประชุมร่วมกัน, because it is the first day on which God ทั้งนี้เพราะเป็นวันแรกที่พระเจ้า, .........and Jesus Christ, our Saviour, on the same day rose from the dead และพระเยซูพระผู้ช่วยให้รอดของเรา ในวันเดียวกันนี้ได้กลับเป็นขึ้นจากตาย. For He was crucified on the day before that of Saturn (Saturday) เพราะพระองค์ถูกตรึงในวันก่อนวันเสาร์ (วันศุกร์); and on the day after that of Saturn, which is the day of the sun และในวันหลังจากวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันแห่งดวงอาทิตย์, having appeared to His apostles and disciples ทรงปรากฏกายให้เหล่าอัครทูตและสาวกของพระองค์ได้เห็น, He taught them these things พระคริสต์ทรงสอนสิ่งเหล่านี้กับพวกเขา, which we have submitted to you also for your consideration ซึ่งเราได้นำมากล่าวให้ท่านได้รับทราบเพื่อการพิจารณา""

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านข้อเขียนข้างต้น:

1. คริสเตียนทั้งหมดในเมืองต่างๆ มาชุมนุมกันวันอาทิตย์ ไม่มีการกล่าวถึงวันสะบาโต

2. มีการอ่านพระวจนะ (บันทึกของอัครทูตและผู้เผยพระวจนะ เพราะยังไม่มีพระคัมภีร์ใหม่รวมเล่มในเวลานั้น) มีการสั่งสอนและตักเตือนให้ทำตามพระวจนะ

3.มีการอธิษฐานร่วมกันและด้วยกัน

4. มีการกินขนมปัง เหล้าองุ่นหรือน้ำองุ่น และ น้ำ (คือ กินอาหารร่วมกัน) มีการขอบพระคุณพระเจ้า คนไม่มาก็มีส่วนแบ่ง มัคนายกจะนำไปให้กินดื่มทีหลัง

5. มีการให้หรือการถวาย ไม่ได้กล่าวถึงสิบลดแต่อย่างใด มีแต่กล่าวว่าใครมีอันจะให้ได้ก็ให้ และ ให้ด้วยหมายไว้ในใจตามความปรารถณา คือ ไม่มีการบังคับ กล่าวอีกนัย คนไม่มีก็ไม่ต้องให้

6. ปัจจัยหรือเงินที่ได้มานั้นให้ฝากเก็บไว้กับประธาน (president) เพื่อผู้นำจะจัดสรรและนำไปช่วยผู้ที่มีความจำเป็นทั้งมวล อาทิเช่น คนที่เดือดร้อนต้องการปัจจัย บรรดาลูกกำพร้า แม่ม่าย คนทีถูกจองจำติดคุก คนป่วยไข้ และบรรดาคนต่างถิ่นทั้งหลาย

7. ยืนยันว่าพระคริสต์ถูกตรึงในวันศุกร์ และเป็นขึ้นจากตายในวันอาทิตย์

8. หลักฐานข้อเขียนนี้เป็นช่วงที่เพิ่งสิ้นยุคอัครทูตใหม่ๆ เขียนโดยผู้เชื่อในตอนนั้น คือ ปี 140 ไม่ได้ไม่เสียหรือเกี่ยวกับสันตะปาปาในกรุงโรมหรือสภาใดๆที่มีภายหลังจากนั้นอีกถึง 200 ปีหรือมากกว่านั้น คนละยุคเลยทีเดียว และคริสตจักรยุคแรกก็เต็มไปด้วยผู้เชื่อที่เป็นยิวและคนต่างชาติ เช่น กรีก และจากจดหมายฉบับนี้ก็มีการเน้นว่าในทุกเมือง ทำเหมือนกันหมด

"จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่”


"จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่”

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

"จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่” (until the time of correction) (mechri kairou diorthōseōs) และเวลานั้นมาถึงแล้ว
ขอเราอ่านและใคร่ครวญพระวจนะตอนต่อไปนี้:
“เมื่อจัดเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างนั้นแล้ว พวกปุโรหิตก็เข้าไปในห้องชั้นนอกนั้น (พลับพลาแรกนั้น) ทุกครั้งที่ประกอบศาสนพิธี 7 แต่ในห้องที่สองนั้น มีมหาปุโรหิตผู้เดียวเท่านั้นที่เข้าไปได้ปีละครั้ง และต้องนำเลือดเข้าไปถวายเพื่อตัวเอง และเพื่อบาปที่ประชาชนทำโดยไม่เจตนาด้วย 8 โดยสิ่งนี้เอง พระวิญญาณบริสุทธิ์จึงทรงสำแดงว่า ทางที่นำเข้าสู่สถานศักดิ์สิทธิ์นั้นยังไม่เปิด ตราบใดที่ห้องชั้นนอกนั้นตั้งอยู่ 9 ซึ่งเป็นเครื่องหมายของยุคปัจจุบัน การนำของถวายและเครื่องบูชามาถวายตามแบบนี้ ไม่สามารถชำระมโนธรรมของผู้ถวายนั้น 10 เพราะเป็นเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม และพิธีชำระล้างต่างๆเท่านั้น เป็นเพียงกฎเกณฑ์ต่างๆทางกายเกี่ยวกับชีวิตภายนอกที่ได้บัญญัติไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่” (ฮีบรู 9:6-10)
คำอธิบาย........

1. "ห้องแรก" = วิสุทธิสถาน ที่ “ปุโรหิต” จะเข้าไปทุกวันเพื่อประกอบศาสนพิธี อยู่แต่ในห้องแรก เข้าห้องที่สองไม่ได้ มีม่านกั้นที่หนาและหนักกั้นอยู่ ม่านนี้ฉีกขาดจากบนลงล่างตอนพระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์บนกางเขน

2. "ห้องที่สอง" = อภิสุทธิสถาน ที่ “มหาปุโรหิต” จะเข้าไปปีละครั้งเพื่อประกอบศาสนพิธีในวันชำระบาป หรือ ที่เรียกว่า Yom Kipper (Yom Kippurim) หรือ Day of Atonement [ความหมายที่แท้จริงคือเป็น "วันกลบบาป" (Day of Coverings) เหมือนการกวาดเอาของสกปรกไปไว้ใต้พรม ให้พรมกลบเอาไว้] เป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของชนชาติอิสราเอล ประชาชนจะไม่ทำงานในวันนี้ เสมือนเป็นวันสะบาโตแห่งวันสะบาโตทั้งหลาย (a sabbath of sabbaths)

3. ประชาชนทั่วไปยืนอยู่แต่ภายนอก หมดสิทธิ์เข้าเฝ้าพระเจ้าได้โดยตรง

4. พระวิญญาณของพระเจ้าทรงสำแดงให้เห็นว่า ตราบใดยังมีระบบปุโรหิตทำศาสนพิธีแบบนี้ (ระบบปุโรหิตเลวีในพันธสัญญาเดิม) ทางที่นำเข้าสู่สถานศักดิ์สิทธิ์นั้นยังไม่เปิด ประชาชนและแม้แต่ปุโรหิตทั่วไปก็เข้าเฝ้าพระเจ้าที่สถิตอยู่ในห้องที่สอง คือ อภิสุทธิสถาน ไม่ได้เพราะมีม่านใหญ่หนากั้นอยู่ ม่านนี้ขาดลงในตอนที่พระเยซูคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์บนกางเขน [ตามคำเล่าขาน พวกยิวพยายามจะเย็บม่านที่หนาและหนักนั้นกลับคืนมาใช้ แต่ไม่นานพระเจ้าก็ทรงให้กองทัพโรมันเข้ามาทำลายล้างกรุงเยรูซาเลมในอีกไม่กี่สิบปีต่อมา (ปี 70) เป็นอันจบสิ้นของระบบปุโรหิตเลวี]

5. การนำของถวายและเครื่องบูชามาถวายตามแบบนี้ ไม่สามารถชำระ "มโนธรรม" ของผู้ถวายนั้น ที่ทำได้คือการอภัยหรือกลบบาปไว้ชั่วคราวเป็นวันๆ และ ในหนึ่งปีก็ต้องมีวันชำระบาปนี้ [Yom Kipper (Yom Kippurim)] โดยมหาปุโรหิตอีก ทำเช่นนี้ชั่วนาตาปีไม่มีวันจบ

6. "เรื่องอาหารและเครื่องดื่ม" และ "พิธีชำระล้างต่างๆ" เหล่านี้ จึงเป็นเพียงกฎเกณฑ์ต่างๆ "ทางกาย" ที่เกี่ยวกับ "ชีวิตภายนอก" ที่ได้บัญญัติไว้เท่านั้น ความหมายคือ เป็นเรื่องภายนอก ไม่ใช่ภายใน เป็นเรื่องของเนื้อหนัง เป็น "หลักการของอาหาร" (เลวีนิติ 11; เฉลยธรรมบัญญัติ 14) "วิธีจัดเตรียมสิ่งที่ใช้ในศาสนพิธี" (กันดารวิถี 6:15, 17 และ 28:7-8) และ "พิธีชำระล้างต่างๆ" (อพยพ 29:4; เลวีนิติ 8:6; 16:4) เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับทางกายในการนมัสการ เกี่ยวกับชีวิตภายนอกที่ได้บัญญัติไว้เท่านั้น

7. “จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่” (until the time of correction) (mechri kairou diorthōseōs) = เป็นเวลาที่ต้องเปลี่ยนใหม่เพราะของเดิมไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
คำว่า "diorthōseōs" แปลว่า "แก้ไขใหม่ ทำให้ถูกต้อง"(to correct, to make right) แก้ไขจากพิธีกรรมภายนอก ที่ไม่สามารถเปลี่ยนสิ่งที่อยู่ภายในได้ให้มีประสิทธิภาพเปลี่ยนสิ่งที่อยู่ภายในได้

8. สิ่งต่างๆที่กล่าวมาจึงเป็น "สิ่งชั่วคราว" ในแผนการความรอดของพระเจ้า และเวลานี้มาถึงแล้วเมื่อพระคริสต์ผู้ทรงเป็นมหาปุโรหิตใหญ่ ที่ได้ทรงถวายพระองค์เองเป็นเครื่องสักการะบูชา โดยโลหิตที่หลั่งออก ครั้งเดียวเป็นพอ บนกางเขน ได้ไถ่บาปผู้เชื่อเป็นนิรันดร์ และพระองค์ได้เสด็จไปประทับเบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้าและทูลขอเผื่อเราผู้เชื่อในพระองค์ทั้งปวง เราจึงสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้ถึงในห้องอภิสุทธิสถานในสวรรค์โดยทางพระเยซูคริสต์


พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ที่เรามีในปัจจุบันเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้


พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ที่เรามีในปัจจุบันเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

1. ต้นฉบับที่เขียนโดยอัครทูตและผู้ที่ติดตามใกล้ชิดไม่หลงเหลือแล้วในปัจจุบัน เหลือแต่ฉบับคัดลอก และฉบับที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆ รวมถึงข้อเขียนของบรรดาเหล่าผู้รู้ในยุคแรกที่อ้างถึงพระวจนะตอนต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้เป็นหลักฐานที่ดีและเป็นสิ่งที่ใช้ตรวจสอบ สืบค้นไปถึงต้นตอของต้นฉบับได้
1.1 ฉบับคัดลอกภาษากรีก ซึ่งมีมากกว่า 5,400 ชิ้น (ได้แก่ papyri, Uncial, Minuscule, Lectionaries และ อื่นๆ) และมีมากขึ้นเรื่อยๆตามการค้นพบ
1.2 ฉบับคัดลอกที่แปลเป็นภาษาอื่นๆอีก เช่น ลาติน, เอธิโอเปีย, สลาวิค, อาร์มีเนียน, Syriac Peshitta, Bohairic รวมๆหมดมีไม่น้อยกว่า 20,000 ต้นฉบับคัดลอก
1.3 ข้อเขียนของบรรดาผู้นำคริสตจักรในยุคแรกๆ (Church Fathers) อีกมากมาย เช่น Ignatius (ปี 70-110) ซึ่งเขียนจดหมายฝาก 7 ฉบับไปยังคริสตจักรต่างๆ มีการยกมาจากพระธรรม 18 พระธรรมของพันธสัญญาใหม่ ผู้รู้กล่าวว่าแม้พันธสัญญาใหม่จะถูกทำลายหมด แต่ถ้าเราใช้หลักฐานข้อเขียนของเหล่าบรรดา Church Fathers เหล่านี้ประกอบกัน ก็จะได้พันธสัญญาใหม่ครบถ้วน

2. การบอกถึงความน่าเชื่อถือของสิ่งที่เขียน ผู้รู้เรื่องประวัติศาสตร์จะมองไปที่ 2 อย่าง คือ
2.1 ระยะเวลาที่ห่างระหว่างต้นฉบับจริงกับฉบับคัดลอก ว่าห่างกันแค่ไหน สำหรับพันธสัญญาใหม่ คือ 50-400 ปีซึ่งน้อยกว่าหนังสือประวัติศาสตร์อื่นๆ กล่าวคือ ยิ่งระยะเวลาห่างน้อย ยิ่งน่าเชื่อถือกว่า และ
2.2 จำนวนฉบับหรือสิ้นส่วนที่คัดลอกไว้ที่หลงเหลือ ยิ่งมากยิ่งยืนยันได้ดี ในปัจจุบันพบว่าที่เกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่นี้มีมากมายถึงกว่า 25,000 ต้นฉบับคัดลอก ซึ่งเพียงแค่ 2 อย่างนี้ พันธสัญญาใหม่ก็กินขาดแล้วเมื่อเทียบกับทุกข้อเขียนในทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ คือ มีเวลาที่ห่างน้อยกว่า และ จำนวนชิ้นส่วนคัดลอกที่หลงเหลือก็มีมากมายกว่าข้อเขียนทางประวัติศาสตร์อย่างอื่นหลายร้อยเท่า

3. ส่วนเรื่องการคัดลอกที่มีคำแตกต่างกันในแต่ละฉบับคัดลอก (Variant readings) เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 แบบใหญ่ๆ
3.1 แบบไม่ได้ตั้งใจ (Unintentional variations) คือ ตามองผิด ได้ยินไม่ชัด เข้าใจผิด จำผิด เขียนผิด ตัดสินใจพลาดผิด จึงเขียนลอกลงไปอย่างนั้น
3.2 แบบตั้งใจ (Intentional variations) คือ คนคัดลอกตั้งใจทำให้มันชัดเจนขึ้น ขัดเกลาไวยากรณ์ อันไหนคลุมเครือเข้าใจยากก็เปลี่ยนใหม่ ตามความเห็นตัวเอง บางทีตั้งใจสอดใส่ความเข้าใจที่ผิดๆลงไปก็มี พอเวลาผ่านไปหลายร้อยปี จำนวนคัดลอกก็มีมากมาย ความแตกต่างเลยมากนับเป็นหมื่นๆแห่ง
คนที่โจมตีคริสเตียนก็มักจะใช้จุดนี้ (Variant readings) มาบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์ใหม่ของคริสเตียน แต่ถ้าศึกษาพระคัมภีร์ใหม่อย่างจริงจังแล้ว จะเห็นว่าไม่ใช่ประเด็นของความไม่น่าเชื่อถือแต่อย่างใด

4. แม้เราจะไม่มีต้นฉบับจริงหลงเหลือ แต่จากบรรดาฉบับคัดลอกและฉบับแปลโบราณที่เป็นภาษาอื่นๆและบรรดาข้อเขียนของเหล่า Church Fathers หรือผู้รู้คริสเตียนยุคแรกๆที่มีมากมายรวมกันทั้งหมดมากกว่า 25,000 แหล่ง จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ผู้รู้คริสเตียนในปัจจุบันจะ "สกัด" และทำให้พระคัมภีร์ใหม่ "กลับคืนสู่สภาพเดิม" หรือ "ใกล้เคียงต้นฉบับเดิมมากที่สุด" ได้ และ ก็ได้ทำกันไปแล้ว

5. ดังนั้น ที่เราเห็นเป็นฉบับแปลตางๆที่เราใช้ในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่มีความน่าเชื่อถือแม้จะมี variants (ข้อแตกต่างแยกย่อย) มากมายในการแปลและเชิงอรรถ แต่เมื่อ่านพระคัมภีร์ภากคพันธสัญญาใหม่แล้ว ก็จะได้ความเข้าใจ ความหมายที่ถูกต้อง และการนำไปใช้ รวมถึงหลักศาสนศาสตร์ที่เหมือนๆกัน (ตีความแบบมาตรฐาน) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของผู้ที่เขียนพระคัมภีร์ที่ได้รับการดลใจจากพระวิญญาณของพระเจ้า

6. ขอเราสบายใจกันได้ในเรื่องนี้ อยู่ที่อ่านหรือไม่อ่านเท่านั้นครับ
ส่วนเรื่องเกี่ยวกับพันธสัญญาเดิม จะมาเล่าให้ฟังทีหลัง ถูกต้องและเชื่อถือได้เช่นกัน

"ยอห์น 19:14 และ มาระโก 15:25 ขัดกันหรือไม่อย่างไร" ?


"ยอห์น 19:14 และ มาระโก 15:25 ขัดกันหรือไม่อย่างไร" ?

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

พระวจนะ 2 ตอนต่อไปนี้:
“ขณะที่พวกเขาตรึงพระองค์นั้นเป็นเวลาสามโมงเช้า (hōra tritē) (the third hour) (9 a.m. =9 โมงเช้า)” (มาระโก 15:25).......
“วันนั้นเป็นวันเตรียมปัสกา (paraskeuē tou pascha) เวลาประมาณเที่ยง (hōs hektē) (the sixth hour) ท่านพูดกับพวกยิวว่า “นี่คือกษัตริย์ของพวกท่าน”” (ยอห์น 19:14).......
คำอธิบาย:
มีการเสนอทางออกของสิ่งที่ดูจะขัดกัน พระเยซูทรงถูกตรึงเวลาประมาณไหนกันแน่ คำอธิบายมีมากหลายข้อเสนอ แต่ผมจะขอนำคำอธิบายของ Andreas J. Kostenberger (เขียนอธิบายพระธรรมยอห์น) และ R.H. Stein (เขียนอธิบายพระธรรมมาระโก) มาสรุปอ้าง โดยนำมาจากหนังสือ commentary ของท่านทั้ง 2 จาก series "Baker Exegetical Commentary of New Testament" ท่านทั้งสองเป็นผู้รู้พระธรรมกิจคุณที่มีชื่อเสียง เชื่อถือได้ และ ตีความแบบที่ผู้รู้ในแวดวงนี้ยอมรับ (ข้อ 1 ถึง 3 ข้างล่างต่อไปนี้)

1. การบอกเวลาในยุคนั้นใช้วิธีบอกแบบประมาณการ ไม่ได้บอกแบบเราทุกวันนี้แบบเปะๆ โดย R.H. Stein ได้ศึกษาการบอกเวลาที่บันทึกในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่พบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ว่า มีการกล่าวถึงการบอกเวลา 23 ครั้ง โดย 4 ครั้งพูดถึง The “third” hour (ชั่วโมงที่ 3), 7 ครั้งพูดถึง the “sixth” hour (ชั่วโมงที่ 6), และ 9 ครั้งพูดถึง the “ninth” hour (ชั่วโมงที่ 9), และมีอีก 3 ครั้งที่พูดถึงเวลาที่แตกต่างจากนี้ กล่าวคือ พูดถึง the “eleventh” hour (ชั่วโมงที่ 11), the “tenth” (ชั่วโมงที่ 10) และ the seventh (ชั่วโมงที่ 7)

2. เนื่องจากไม่เคยมีการกล่าวเจาะจงลงไประหว่าง The “third” hour (ชั่วโมงที่ 3) กับ the “sixth” hour (ชั่วโมงที่ 6) เลย เป็นไปได้ไหมว่า ช่วงเวลานี้เป็นการกล่าวที่สามารถใช้อันใดอันหนึ่งแทนเหตุการณ์ช่วงนั้นได้ คือ แล้วแต่ใครจะใช้ ก็ตามแต่เห็นควร แต่เป็นอะไรที่ตกในช่วง 3 ชั่วโมงนี้โดยประมาณ
อาจเป็นเพราะ ท่านมาระโกและท่านยอห์นต้องการเน้นคนละจุดประสงค์ โดยท่านยอห์นเน้นให้เห็นภาพของ "ช่วงเวลาที่ใช้ไปในระหว่างการตัดสินความ" ซึ่งเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่จึงเลือกกล่าว “ชั่วโมงที่หก” เพราะพวกที่จับพระเยซูนำพระองค์มาให้ปิลาตตัดสินตั้งแต่เช้าตรู่ (early morning) (ยอห์น 18:28) ปิลาตออกมาทำงานแต่เช้าตรู่ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไรของช่วงนั้นเดือนเมษายน
ส่วนท่านมาระโกต้องการเน้นว่า "มีอีก 3 ชั่วโมงที่ฟ้ามืดหลังเที่ยงถึงบ่ายสาม" จึงเลือกใช้ “ชั่วโมงที่สาม” [“เมื่อถึงเวลาเที่ยงก็เกิดมืดมัวทั่วแผ่นดินจนถึงบ่ายสามโมง” (มาระโก 15:33)]

3. เหตุการณ์ที่กำลังกล่าวถึงนั้นเป็นวันศุกร์ พระเยซูคริสต์ทรงเสวยปัสกาไปแล้วคืนผ่านมากับเหล่าสาวก วันศุกร์เป็นวันก่อนวันสะบาโต (วันเสาร์) ดังนั้นวลี “วันนั้นเป็นวันเตรียมปัสกา” (paraskeuē tou pascha) จึงไม่ได้หมายถึงวันก่อนจะกินปัสกา (เพราะพระเยซูกับสาวกของพระองค์กินปัสกาเย็นวันพฤหัสต่อวันศุกร์ไปแล้ว) แต่หมายถึง “of Passover week” (ของสัปดาห์ปัสกา) ซึ่งฉบับแปลอมตธรรมซึ่งแปลจาก NIV แปลตรงนี้ได้ถูกต้องกว่า โดยแปลดังนี้ว่า “วันนั้นเป็นวันเตรียมของสัปดาห์ปัสกา” ซึ่งเป็นการกล่าวถึง “โดยรวมของทั้งสัปดาห์ปัสกา” (รวมวันปัสกาและเทศการขนมปังไร้เชื้อที่เกี่ยวข้องกันด้วย) วันเตรียมของสัปดาห์ปัสกาจึงเป็นการอ้างถึงวันเตรียมสำหรับวันสะบาโตที่จะมาในวันเสาร์พรุ่งนี้

4. ยังมีความเห็นอื่นๆ เช่น จากหนังสือ Alleged Discrepancies of the Bible โดย John W. Haley พิมพ์เมื่อปี 1874 (141 ปีก่อน) ซึ่งค่อนข้างเก่า ก็มีผู้เสนอว่าสำเนาคัดลอกของพระธรรมยอห์นนั้นลอกมาผิด จากเลข 3 มาเป็นเลข 6 ที่อาจดูคล้ายๆกัน แต่เหตุผลนี้ตกไป ไม่มีหลักฐาน ไม่มีผู้รู้ปัจจุบันเชื่อถือ]
มีอีกความเห็นหนึ่งที่ตีความว่าตรงนี้ควรแปลแบบจับใจความว่า "Now preparations for the Passover (sacrifice) started at noon = เดี๋ยวนี้การเตรียมการสำหรับปัสกาจะเริ่มเวลาเที่ยง" เป็นการกล่าวอ้างถึงการเตรียมแกะที่จะถวายในพิธีปัสกา ที่จะเริ่มตอนเที่ยง เป็นการตีความวันเวลาที่แตกต่างออกไป

5. ดังนั้นก็คงสรุปว่า พระคริสต์ถูกตรึงตั้งแต่ช่วงหลัง 9 โมงเช้าถึงบ่ายสามโมงโดยประมาณ ท้องฟ้ามืดไปช่วงเที่ยงถึงบ่ายสาม พระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์ในราวบ่ายสามโมงของวันศุกร์ที่ 3 เมษายน ปี AD 33

Didache คืออะไร ? ฝากไว้ประดับความรู้ !!!


Didache คืออะไร ? ฝากไว้ประดับความรู้ !!!

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

ผมเคยอ่านหนังสืออธิบายพระคัมภีร์โดยเฉพาะภาคพันธสัญญาใหม่ มักเจอผู้รู้อ้างข้อเขียนที่ยกมาจาก Didache (อ่านว่า "ดิดอาเค") เป็นประจำ แต่ไม่เคยค้น ไม่เคยสนใจ ไม่รู้ว่าคืออะไรด้วย ตอนหลังลองตรวจสอบดู ก็เลยอยากมาเล่าให้ฟัง เผื่อใครอ่านเจอจะได้ไม่สงสัยว่าผู้รู้เขาพูดหรืออ้างถึงอะไร
Didache คือ หนังสือที่เขียนโดยบรรดาเหล่าอัครทูตหรือบรรดาลูกศิษย์ของเหล่าอัครทูต เขียนถึงคริสตจักรต่างๆในสมัยแรกนั้น เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีพระคัมภีร์ใหม่รวมเล่มและพระธรรมหลายตอน (เช่น จดหมายฝากของท่านเปาโล เปโตร) ก็อาจจะยังไม่ได้เขียนขึ้นหรือยังไม่แพร่หลาย (แล้วแต่ว่าเข้าใจว่า Didache เขียนขึ้นปีไหน)

หนังสือ Didache นี้บรรดาผู้นำคริสตจักรยุคแรกอ้างถึงกันมากในข้อเขียนของพวกท่าน บางท่านก็ถือว่าเป็นพระวจนะจากการดลใจถือเป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์เลยทีเดียว (แต่สุดท้ายก็ไม่ถูกรวมเข้าในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่) บรรดาผู้รู้ในปัจจุบันก็ยังอ้างหนังสือนี้ในข้อเขียนของท่าน ใครอ่านหนังสืออธิบายพระคัมภีร์ (commentaries) ภาษาอังกฤษจะพบมีการอ้างถึงมากมาย

หนังสือนี้สูญหายไปนานกว่า 1000 กว่าปีจนคนรุ่นใหม่ๆถัดมาหลายคนสงสัย และเพิ่งมาค้นพบเจอเมื่อปี 1883 โดย Philotheos Bryennios จาก Jerusalem Codex ซึ่งเป็นฉบับคัดลอกที่เขียนขึ้นเมื่อปี 1053
เชื่อกันว่า Didache นี้เขียนขึ้นประมาณปี 49-79 คือ เป็นยุคที่เขียนพระธรรมกิจการและพระธรรมมัทธิว มาระโก เลยทีเดียว แต่ก็มีผู้รู้บางท่านก็ว่าอาจเขียนขึ้นหลังจากนั้น เช่น อาจประมาณปี 100-120
ผมได้อะไรจากการอ่าน Didache เยอะเลยครับ อาจตอบคำภามที่หลายท่านสงสัย ตัวอย่างเช่น

1. การรับบัพติสมาเข้าในพระนามของพระบิดา พระบุตร และ พระวิญญาณบริสุทธิ์ ให้ทำในแหล่งน้ำที่ไหลตามธรรมชาติ เช่น ทะเล แม่น้ำ ลำธาร (natural flowing water) แต่ถ้าไม่มีหาไม่ได้ ก็ให้ใช้แหล่งน้ำอื่นๆ เช่น จากสระ จากบ่อน้ำพุ ถ้าไม่มีนำเย็น ก็ใช้น้ำอุ่น และ ถ้าไม่มีแหล่งน้ำให้จุ่มได้มิดตัว ก็ให้ใช้วิธีเทน้ำราดบนศีรษะ 3 ครั้ง ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (7:1-3)

2. เกี่ยวกับพืธีศีลมหาสนิท ห้ามคนที่ยังไม่ได้ประกาศความเชื่อโดยการรับบัพติสมารับประทานหรือดื่มในพิธี (9:9) (สมัยแรก นั้นพอรับเชื่อก็จะให้บัพติสมาในน้ำกันเลย ไม่มีการเว้นช่วงเพื่อศึกษาพระวจนะหรือเตรียมพร้อมแบบที่เราทำกันทุกวันนี้)

3. การมาร่วมกันประชุมนมัสการพระเจ้า มีการรับประทานอาหาร การขอบพระคุณ ก่อนอื่นใดให้สารภาพบาปของเราก่อนเพื่อการอุทิศถวายจะได้บริสุทธิ์ แต่อย่าให้ผู้ใดก็ตามที่ยังโต้แย้งทุ่มเถียงกับพี่น้องมาด้วยจนกว่าเขาจะคืนดีกันเพื่อการอุทิศถวายจะได้ไม่มีมลทิน (14:1-3)

4. ยังมีอีกเยอะครับ ลองอ่านดู เช่น ข้อที่ 8:1 ในนั้นอธิบายว่าสาวกรุ่นแรกนั้นใช้ "วันพุธ" และ "วันศุกร์" ในการอธิษฐานอดอาหาร (วันพุธคือวันที่พระเยซูโดนทรยศ วันศุกร์คือวันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึง) ซึ่งน่าจะเป็นหลักฐานที่ดีว่าคริสเตียนได้เปลี่ยนและถือวันอย่างไรแตกต่างจากเดิม (เป็นหลักฐานข้อพิสูจน์จากข้อเขียนยุคแรก)

5. อีกเรื่องที่สำคัญ ให้สังเกตุตอนนี้
“1 NOW l on the Lord’s Lord’s-day, 2 when ye are assembled together break bread, and 3 give thanks, 4 after confessing your transgressions, 5 in order that your sacrifice may be pure = และเดี๋ยวนี้ในวันแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นวันที่พวกท่านมาชุมนุมกันหักขนมปังและขอบพระคุณพระเจ้า หลังจากที่ท่านสารภาพการล่วงละเมิดของท่าน เพื่อที่การอุทิศถวายตัวของพวกท่านจะบริสุทธิ์” (14:1-5)
ข้อนี้จึงอาจจะเป็นหลักฐานในยุคแรกว่าเหล่าอัครทูตได้ย้ายวันนมัสการจากวันสะบาโต (วันเสาร์) มาเป็นวันอาทิตย์ (Lord's day)

6. เป็นหนังสือที่กระชับ อ่านง่าย เข้มข้น สอดคล้องกับพระคัมภีร์ไบเบิ้ลที่เราอ่านกัน ช่วยเราเข้าใจพระคัมภีร์ใหม่และแนวทางปฏิบัติในยุคนั้นได้ดีขึ้น ฝากไว้อ่านด้วยครับ
ใน internet มีให้ download ฟรีๆหลาย version ลองค้นดู ภาษาไทยก็มีแปลโดยกลุ่ม Catholic ใครมีลองหามาลงได้  http://www.tracts.ukgo.com/didache.pdf


ลำดับวันเวลา


"ลำดับวันเวลา"

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

1. พระเยซูคริสต์ถูกตรึงและตายบนกางเขนตรงกับวันที่เท่าไหร่ ปีไหน เป็นเรื่องที่ยังสรุปไม่ได้แน่ชัด ที่ผู้รู้เห็นพ้องกันมากที่สุดคือ วันศุกร์ เดือนเมษายน (Nissan 14) ปี AD 30

2. แต่จากหลักฐานต่างๆในช่วงหลังและการพิจารณารายละเอียดจากพระคัมภีร์ เชื่อว่าน่าจะเป็น วันศุกร์ เดือนเมษายน (Nissan 14) ปี AD 33 มากกว่า

3. เพื่อความง่าย ลำดับวันเดือนปีในแบบสมัยใหม่ของเรา คร่าวๆน่าจะเป็นแบบนี้
...วันอาทิตย์ 29 มีนาคม AD 33…..พระเยซูเสด็จเข้าเยรูซาเลม ทรงทำนายการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ทรงเยี่ยมเยียนพระวิหาร
...วันจันทร์ 30 มีนาคม AD 33……ทรงตรัสสาปให้ต้นมะเดื่อแห้งไป เสด็จเข้าพระวิหารและชำระพระวิหาร คว่ำโต๊ะคนรับแลกเงิน
...วันอังคาร 31 มีนาคม AD 33……ทรงสอนในพระวิหาร โต้ตอบกับหัวหน้าปุโรหิต ทรงทำนายอนาคต หมายสำคัญการสิ้นยุค
...วันพุธ 1 เมษายน AD 33……พระเยซูทรงดำเนินการสั่งสอนในบริเวณพระวิหาร พวกหัวหน้าปุโรหิตกับพวกธรรมาจารย์กำลังหาช่องทางว่าจะฆ่าพระเยซูอย่างไร
...วันพฤหัสบดี 2 เมษายน AD 33……ทรงสั่งให้สาวกไปจัดเตรียมห้องชั้นบนเพื่อรับประทานปัสกา ในตอนเย็นพลบค่ำ ทรงรับประทานปัสกากับสาวก 12 คน ทรงบอกว่ายูดาสจะทรยศ ทรงตั้งพิธีมหาสนิท (Lord’s Supper) ระหว่างมื้ออาหารทรงล้างเท้าเหล่าสาวก เมื่อร้องเพลงสรรเสริญแล้ว ก็พากันไปที่ภูเขามะกอกเทศ ทรงทำนายการปฏิเสธพระองค์ของเปโตร พากันไปยังสวนเกทเสมนี พระเยซูทรงอธิษฐานเป็นทุกข์ใจอย่างยิ่ง (ยิวนับเวลาค่ำ นับใหม่เป็นอีกวัน เหตุการณ์ในช่วงพลบค่ำไปแล้วที่จริงก็จะเป็นของวันถัดไป คือ วันศุกร์ ในที่นี้จัดลำดับให้เพื่อความสะดวกตามการนับวันในแบบปัจจุบัน)
...วันศุกร์ 3 เมษายน AD 33……
หลังเที่ยงคืนพระเยซูถูกยูดาสทรยศนำคนมาจับพระองค์
ระหว่างตีหนึ่งถึงรุ่งเช้า พระองค์ถูกดำเนินคดี ไม่ได้พักผ่อนตลอดคืน
ตีสาม พวกคนที่จับพาพระองค์ไปบ้านของคายาฟาสมหาปุโรหิตและต่อหน้าสมาชิกสภายิว ถูกกล่าวหาและถ่มน้ำลายรดหน้าและถูกทุบตี ถูกตบ เปโตรปฏิเสธพระองค์
พอใกล้เช้าถึงเช้า พระเยซูถูกนำไปหาปีลาต เจ้าเมือง พระองค์ถูกไต่สวนหาความผิดไม่ได้ ปิลาตจึงส่งพระองค์ไปหาเฮโรด แล้วเฮโรดก็ส่งพระองค์กลับไปหาปิลาตอีก ปิลาตไม่เห็นพระองค์มีความผิดแต่สุดท้ายก็ยอมให้กับฝูงชน ยูดาสรู้สึกผิด ไปฆ่าตัวตาย พระเยซูถูกนำไปเฆี่ยน
ประมาณ 9 โมงเช้า พระเยซูถูกนำไปตรึงกางเขน ระหว่างโจร 2 คน ม่านในพระวิหารขาดกลาง
จากเที่ยง (12:00) ถึงบ่ายสาม (15:00) ฟ้ามืดไปทั่วแผ่นดิน ถึงขาดจุดไฟจุดตะเกียงกัน มีหลักฐานบันทึกนอกพระคัมภีร์ด้วยว่ามีดวงจันทร์กลายเป็นสีเลือด (lunar eclipse)
บ่ายสามโมง (15:00) พระองค์ทรงสิ้นลมหายใจ (9 ชั่วโมงของยิวนับจากเวลาเช้า คือ 15:00 น.ในปัจจุบัน)
...วันเสาร์ 4 เมษายน AD 33…..มีคำสั่งให้เฝ้าอุโมงค์ฝังศพให้แข็งแรงจนถึงวันที่สาม ป้องกันการขโมยพระศพ
...วันอาทิตย์ 5 เมษายน AD 33…..ทรงฟื้นคืนพระชนม์

References: เข้าไปเก็บเอาไว้อ่านได้นะครับ
http://www.tyndalehouse.com/…/tynbull_1992_43_2_06_humphrey…
http://www.wtsbooks.com/common/pdf_links/9781433535109.pdf
Andreas J. Köstenberger, “The Date of Jesus’ Crucifixion,” ใน ESV Study Bible, ed. Wayne Grudem (Wheaton, IL:Crossway, 2008), หน้าที่ 1809–10

คริสเตียนจะต้องถือธรรมบัญญัติเดิมหรือไม่ ?


"คริสเตียนจะต้องถือธรรมบัญญัติเดิมหรือไม่ ?"

เขียนโดย Padunkiaet Vejvechaneyom

[ต่อไปนี้ เป็นมุมมองของผู้รู้คริสเตียนแบบมาตรฐานทั่วไป ซึ่งอาจแตกต่างจากการตีความของพี่น้องกลุ่มรากยิว (Hebraic Roots หรือ Jewish Roots) หรือ กลุ่ม 7 th Day Adventist ที่ถือวันสะบาโตและกฏเรื่องอาหาร]

1. ธรรมบัญญัติเดิมผูกติดกับพันธสัญญาเดิม ธรรมบัญญัติใหม่ผูกติดกับพันธสัญญาใหม่ รองรับซึ่งกันและกัน

2. ขอเราอ่านพระธรรมเยเรมีย์ 31:31-33 ดังต่อไปนี้:
.....“พระ‍ยาห์‌เวห์ตรัสว่า “นี่‍แน่ะ วัน‍เวลาจะมาถึง ซึ่งเราจะทำพันธ‌สัญญาใหม่กับเชื้อ‍สายของอิสรา‌เอลและเชื้อ‍สายของยู‌ดาห์ 32 ไม่เหมือนกับพันธ‌สัญญาซึ่งเราได้ทำกับบรรพ‌บุรุษของเขา‍ทั้ง‍หลาย เมื่อเราจูงมือเขาเพื่อนำเขาออกมาจากแผ่น‍ดินอียิปต์ เป็นพันธ‌สัญญาของเราซึ่งเขาฝ่า‍ฝืน ถึง‍แม้‍ว่าเราได้เป็นสามีของเขา” พระ‍ยาห์‌เวห์ตรัสดัง‍นี้แหละ 33 “แต่นี่จะเป็นพันธ‌สัญญาซึ่งเราจะทำกับเชื้อ‍สายของอิสรา‌เอลภาย‍หลังสมัยนั้น” พระ‍ยาห์‌เวห์ตรัสดัง‍นี้แหละ “เราจะบรร‌จุธรรม‍บัญญัติไว้ในเขา‍ทั้ง‍หลาย และเราจะจา‌รึกมันไว้บนดวง‍ใจของเขา และเราจะเป็นพระ‍เจ้าของเขา และเขาจะเป็นประ‌ชา‍กรของเรา 34 และทุกคนจะไม่สอนเพื่อน‍บ้านและพี่‍น้องของตนแต่‍ละ‍คนอีกว่า ‘จงรู้‍จักพระ‍ยาห์‌เวห์’ เพราะเขาทุกคนจะรู้‍จักเราตั้ง‍แต่คนเล็ก‍น้อยที่‍สุดถึงคนใหญ่โตที่‍สุด” พระ‍ยาห์‌เวห์ตรัสดัง‍นี้แหละ “เพราะเราจะให้อภัยความผิด‍บาปของเขา และจะไม่จด‍จำบาปของเขาอีก‍ต่อ‍ไป”” (เยเรมีย์ 31:31-33)
......จากที่ยกมา กล่าวชัดเจนว่าเป็น "พันธสัญญาใหม่" ที่ "ไม่เหมือน" ของเดิม คือ เป็นของใหม่ ไม่ใช่ของเก่านำมาปรับใหม่ และ พระยาห์เวห์จะ "บรรจุธรรมบัญญัติใหม่ไว้ในใจของพวกเขา" (เชื้อสายของอิสราเอลและยูดาห์) และ ที่เด่นชัดคือมี "การอภัยความผิด‍บาป" ของเขาและจะไม่มี "การจด‍จำบาป" ของเขาอีก‍ต่อ‍ไปเป็นลักษณะที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่แตกต่างจากของเดิม
......นอกจากนี้ ถ้าดูตามฉบับ Septuagint ก็จะเห็นว่าตรงคำว่า "ธรรมบัญญัติ" ใช้คำว่า "laws" ซึ่งเป็นรูปพหูพจน์ (ซึ่งเหมือนกับ "laws" ที่ใช้ในพระธรรมฮีบรู 8:8-12 ที่ยกมาจากพระธรรมเยเรมีย์ตอนนี้) ดังนั้น laws จึงเป็นธรรมบัญญัติใหม่ที่อาจเหมือนของเดิมและไม่เหมือนของเดิมก็ได้

3. เราจึงอาจสรุปได้ว่า "ธรรมบัญญัติ" ของพันธสัญญาใหม่เป็นธรรมบัญญัติที่ "สดใหม่" ที่จะมาจากพระเมสสิยาห์ (พูดง่ายๆในตอนนี้คือ "กฎของพระคริสต์" นั่นเอง) ในปัจจุบันเราหาได้จากคำสอนของพระเยซูคริสต์คริสต์และของอัครทูตของพระองค์ที่มีบันทึกในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่

4. คริสเตียนได้รับและเข้าในพันธสัญญาใหม่นี้่ร่วมกับอิสราเอลและยูดาห์ก็โดยผ่านทาง "พระโลหิตของพระคริสต์" ที่หลั่งออกมา (มัทธิว 26:28; ลูกา 22:20; 1 โครินธ์ 11:25)

5. นอกจากนี้ ในพระธรรมฮีบรู 7:11-12 ก็กล่าวชัดเจนว่าเมื่อระบบปุโรหิตเปลี่ยนแปลงแล้ว ธรรมบัญญัติก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนไปด้วยซึ่งเป็นการยืนยันที่ชัดเจนว่าธรรมบัญญัติของเดิมต้องถูกเปลี่ยนใหม่
.....“ดังนั้น ถ้าความบริบูรณ์บรรลุได้ทางระบบปุโรหิตเผ่าเลวี (เพราะว่าประชาชนได้รับธรรมบัญญัติโดยระบบนี้) ทำไมจะต้องมีปุโรหิตอีกตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค ไม่ใช่ตามแบบอย่างของอาโรน? 12 เพราะเมื่อระบบปุโรหิตเปลี่ยนแปลงแล้ว ธรรมบัญญัติก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนไปด้วย” (ฮีบรู 7:11-12)

6. มีผู้รู้คริสเตียนบางกลุ่มอาจอ้างว่าธรรมบัญญัติถูกเปลี่ยนเฉพาะในแง่ของการถวายสัตวบูชาหรือแค่การถวายสิบลด ที่เหลือยังเหมือนเดิม ซึ่งไม่น่าใช่เช่นนั้น เพราะธรรมบัญญัติเดิมเป็นสิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้ มีความเป็นหนึ่งเดียว และ ระบบปุโรหิตถือเป็นเส้นเลือดหลักของธรรมบัญญัติเดิม เนื่องจากมีความเป็นหนึ่งเดียว ทุกสิ่งจึงขาดกันไม่ได้ (มาด้วยกันไปด้วยกัน) พระยาห์เวห์ทรงเตือนไว้ว่าห้ามแบ่งห้ามเติมธรรมบัญญัติเดิม
.....“ท่าน‍ทั้ง‍หลายอย่าแต่งเติมถ้อย‍คำที่ข้าพ‌เจ้าบัญชาท่านไว้ และอย่าตัดสิ่ง‍ใดออก เพื่อท่านจะรักษาพระ‍บัญญัติของพระ‍ยาห์‌เวห์พระ‍เจ้าของท่านซึ่งข้าพ‌เจ้าได้บัญชาท่าน” (เฉลยธรรมบัญญัติ 4:2)
.....และ ในพระธรรมยากอบก็บอกว่าผิดข้อเดียวผิดทั้งหมด (ยากอบ 2:10)

7. ผู้ที่เปลี่ยนพันธสัญญาและธรรมบัญญัติคือพระยาห์เวห์ เป็นแผนการความรอดของพระองค์ที่เป็นไปตามลำดับขั้นเพื่อมนุษยชาติ (ยิวและคนต่างชาติ) เมื่อพระองค์ทรงให้พระเยซูคริสต์มาตายบนกางเขนและทรงฟื้นคืนพระชนม์กลับเป็นขึ้นมา เท่ากับเป็นการเข้าสู่ "การทรงสร้างใหม่" เข้าสู่ "ยุคใหม่" เป็น "ยุคของพระวิญญาณ" คริสเตียนเดินด้วยพระวิญญาณของพระคริสต์และด้วยกฎของพระคริสต์

8. ก่อนจบ ขอให้สังเกตสิ่งที่เขียนในพระธรรมเยเรมีย์ 3:16-18 ที่กล่าวว่า
.....“และเมื่อพวก‍เจ้าทวีและเพิ่มขึ้นในแผ่น‍ดินนั้น ในเวลานั้น” พระ‍ยาห์‌เวห์ตรัสดัง‍นี้แหละ “เขา‍ทั้ง‍หลายจะไม่กล่าวอีกว่า ‘หีบ‍พันธ‌สัญญาแห่งพระ‍ยาห์‌เวห์’ เรื่องนี้จะไม่‍มีขึ้นในใจ ไม่‍มีใครกล่าว‍ถึง ไม่‍มีใครนึก‍ถึง จะไม่ทำขึ้นอีกเลย 17 ในครั้ง‍นั้นจะเรียกกรุง‍เย‌รู‌ซา‌เล็มว่าเป็นพระ‍ที่‍นั่งของพระ‍ยาห์‌เวห์ และบรร‌ดาประ‌ชา‍ชาติจะรวบ‍รวม‍กันเข้า‍มายังกรุง‍เย‌รู‌ซา‌เล็มเพื่อพระ‍นามของพระ‍ยาห์‌เวห์ และพวก‍เขาจะไม่ดื้อ‍รั้นดำ‌เนินตาม‍ใจชั่วของเขาอีก‍ต่อ‍ไป 18 ในเวลานั้นเชื้อ‍สายของยู‌ดาห์จะเดินมากับเชื้อ‍สายของอิสรา‌เอล เขาทั้ง‍สองจะรวม‍กันมาจากแผ่น‍ดินฝ่ายเหนือมายังแผ่น‍ดินซึ่งเรามอบให้แก่บรรพ‌บุรุษของเจ้าเป็นมรดก” (เยเรมีย์ 3:16-18)
.....กล่าวคือ ของเดิมนั้น อันได้แก่ หีบ‍พันธ‌สัญญาแห่งพระ‍ยาห์‌เวห์ "เรื่องนี้จะไม่‍มีขึ้นในใจ ไม่‍มีใครกล่าว‍ถึง ไม่‍มีใครนึก‍ถึง จะไม่ทำขึ้นอีกเลย"